วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Review-ตำรากฎหมายพยานหลักฐาน

                 ตำรากฎหมายพยานหลักฐาน

             ในการเลือกเฟ้นตำรากฎหมายอ่านนักหายากยิ่งหนัก ยิ่งอ่านแล้ว ถูกจริตกับตัวเสีย

ด้วยนั้นยิ่งยากใหญ่ ปัญหาส่วนใหญ่ของนักศึกษา ที่ไม่อยากซื้อตำราหลายๆเล่มมาลองผิด 

ลองถูกมีข้อแนะนำซักเล็กน้อยจากผู้เขียน คือ ให้ท่านลองเปิดอ่านบทแรกๆ แล้วอย่างน้อยๆ 

ซัก 10 หน้า ถ้าท่านอ่านแล้ว ชอบการเรียบเรียงถ้อยคำในรูปแบบนี้ ท่านก็ควรจะซื้อเล่มนั้้้้น

เสีย แต่ถ้ากลับกันท่านก็ควรวางเสีย เพราะถึงท่านทนอ่านต่อไป ย่อมลำบากในการทำความ

เข้าใจในภายหลังด้วย

             ในชั้นนี้จะกล่าวถึงตำรากฎหมายพยานหลักฐานที่ผู้เขียนเคยอ่านมาตั้งแต่สมัยชั้นปริญญาตรี

จนปัจจุบัน ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนโดยแท้ 

1.กฎหมายพยานหลักฐานของอาจารย์จรัญ 

เล่มนี้ เหมาะทั้งสำหรับปริญญาตรี ปริญญาโท และ เนติบัณฑิต ถ้อยคำอ่านเข้าใจง่าย เน้นทฤษฏีแฝง

ด้วยหลักกฎหมายพร้อมข้อคิดสอดแทรงให้เห็นถึงเจตนารมณ์กฎหมายอย่างเด่นชัด ไม่จะใคร่เน้นคำ

พิพากษามากนัก ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบอ่านคำพิพากษาฏีกา สำหรับคนที่ยังไม่มีพื้นและกำลังจะวาง

พื้นที่มั่นคง ก็ต้องเล่มนี้ อาจารย์ท่านเรียบเรียงเนื้อหาได้แบบเป็นขั้นเป็นตอนสอนวิธีคิดอยากเป็นขั้น

เข้าใจอย่างง่ายดาย พร้อม Mind-Map อธิบายให้ง่ายต่อการจดจำ

2.คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลัก โดย อาจารย์อุดม รัฐอมฤต

เล่มนี้ เหมาะสำหรับทบทวนเป็นอย่างยิ่ง อธิบายคล้ายคลึงกับตำราของท่านอาจารย์เข็มชัย ชุติวงศ์

อ่านเข้าใจยากเล็กน้อย เหมาะสำหรับคนมีพื้นมาแล้ว เนื้อหาสั้นกระชับ เหมาะสำหรับเรียนปริญญาตรี

มากที่สุด ไม่เน้นคำพิพากษาฏีกา โดยจะมีฏีกาประกอบเพียงสองถึงสามฏีกาต่อเรื่องเท่านั้น

3.คำอธิบายกฎหมายกฎหมายลักษณะพยาน โดย อาจารย์ เข็มชัย ชุติวงศ์

ส่วนตัวคิดว่าเล่มนี้ อ่านยาก เข้าใจยากที่สุด (แต่ไม่ใช่เป็นการพ้นวิสัยในการทำความเข้าใจได้) แต่ค่อน

ข้างละเอียดและพิสดารอยู่พอควร เล่มนี้ เหมาะสำหรับคนอ่านเล่มอื่นๆมาแล้ว มาต่อยอดในเล่มนี้ ซึ่งถ้า

จะเป็นไปได้ควรอ่านคู่กับอาจารย์ จรัญ จะดีมาก

4.คำอธิบายพยานหลักฐาน คดีแพ่งและคดีอาญา โดย อาจารย์ ธานี สิงหนาท

เล่มนี้ เป็นแนวการเขียนเน้นฏีกา + ทฤษฏีเล็กน้อย เหมาะมากสำหรับอ่านต่อจากเล่มอื่นๆ ได้ทั้งทบทวน

และต่อยอดจากเล่มอื่นๆ ผู้เขียนใช้เล่มนี้อ่านทบทวนเสียบ่อยครั้ง เพราะอ่านเข้าใจง่าย โดยคิดว่า เหมาะ


ทั้งในชั้นปริญญาตรี และ เนติบัณฑิต สมควรที่จะนำมาเก็บไว้ซักเล่ม เพื่ออ่านดูเสียซักครั้ง


5.พยานหลักฐาน โดย อาจารย์ สมชัย ฑีฆาอุตมากร


เล่มนี้ เป็นเหมือนประมวลที่รวบรวมเรื่องที่เกี่ยวข้องเข้ามาไว้ด้วยกัน พร้อมหลักโดยย่อ และมีข้อสังเกต


และ หมายเหตุที่น่าสนใจไว้มากมาย น่าจะเทียบได้กับเล่มของท่านอาจารย์ธานี แต่แนวการเขียนไม่ใช่


คล้ายกัน แตกต่างกันอยู่มาก แต่ก็เป็นหนังสือที่เหมาะนำไว้ทบทวนอย่างแท้จริง เพราะคนที่อ่านต้องมี


พื้นฐานมาดีอยู่พอสมควร เหมาะกับเนติบัณฑิต เป็นที่สุด เพราะวิเคราะห์การปรับใช้กฎหมายของศาล


และอธิบายในหมายเหตุได้ดีมาก


6.คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน

เล่มนี้ เหมือนเป็นจุดบรรจบกึ่งกลางระหว่างเน้นคำพิพากษาและฏีกา กับ เน้นหลักทฤษฏี โดยตำราเล่มนี้ 

ผู้เขียนอ่านสามรอบด้วยกัน เพราะชอบมากที่สุด แนนคำพิพากษาฏีกาจะอ่านง่าย แต่ซ้ำกันบ่อยเสียบ้าง


โดยอธิบายหลักผสมผสานไปกับคำพิพากษา แต่จะเน้นคำพิพากษามากกว่าอยู่เล็กน้อย เหมาะกับชั้น


เนติบัณฑิต และปริญญาตรี 


7.คำอธิบายพยาน

เล่มนี้ เหมาะทั้งเรียนปริญยาตรี และ ปริญญาโท แต่กลับมีความรู้สึกมิค่อยเหมาะกับเนติบัณฑิตมากนัก

เพราะจะเน้นปูทฤษฏี และ การเรียนเพื่อพัฒนากฎหมาย เสียมากกว่า (เหมือนเรียนเจตนารมณ์ของบท

บัญญัติมาตรานั้นๆซะมากกว่า) โดยส่วนตัว คิดว่าเล่มนี้ ถ้าอยากได้ทฤษฏีแน่น นอกจากทางเลือกคือ

อาจารย์จรัญ เล่มนี้ก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุดอีกเล่มหนึ่งเช่นกัน 




       สุดท้ายนี้ หวังว่าท่านจะได้ตำราที่อ่านแล้ว ถูกจริตท่านมากที่สุด และแนะนำว่า ต้องอ่านตำราที่


มีคำพิพากษาและอธิบายข้อกฎหมายเป็นปัจจุบัน เพราะมีการแก้ไขมากในปี 2550 - 2551 นั่นเอง

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเขียนตอบข้อสอบกฎหมายในระดับเนติบัณฑิต

เมื่อเรียนมาถึงระดับเนติบัณฑิตแล้ว ต้องตอบข้อสอบกฎหมายอย่างไรให้ได้คะแนน

    เมื่อปีที่แล้ว พี่ชายของผู้เขียนได้สมัครเรียนในระดับเนติบัณฑิตไทย หลังจากสำเร็จการศึก

ษา มาจากต่างประเทศ ตอนนั้นผู้เขียนเพิ่งจะเข้าเรียนปริญญาโททางกฎหมาย อยู่ที่ต่าประเทศ

เช่นกัน พี่ชายของผู้เขียนเป็นคนที่หัวไวมากกว่าผู้เขียนหลายเท่า เข้าใจอะไรง่ายดาย พี่ชาย

ของผู้เขียนได้ GPA สูงมาก และ Expect Gpa ก็สูงด้วย จึงสามารถไปเรียนต่อต่างประเทศได้

อย่างสบายๆแต่ที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจเสียมากว่า เหตุใด พี่ชายของผู้เขียนจึงมิ

สามารถสอบผ่านเนติบัรฑิต แม้แต่ขาเดียวในปีที่ผ่านมา ซึ่งตอนนั้น ผู้เขียนก็รู้สึกเสียใจ และ

รู้สึกเป็นห่วง เพราะพี่ชายของผู้เขียนค่อนข้างจะเป็นคนทำอะไรทุ่มเท คงจะเสียใจมาก คะแนน

ของพี่ชายผู้เขียนจะอยู่ในระดับใกล้ผ่านเสมอๆ เช่น 45 47 เป็นต้น วันที่ไปขอดูกระดาษสมุด

ตอบ พี่ชายของผู้เขียนไปกับเพื่อน ปรากฎออกมาว่า ที่สอบมิผ่านนั้น เพราะไม่สามารถถ่าย

ทอดความรู้ออกมาเป็นภาษากฎหมาย หายคำตกคำ ขาดห้วงเหตุ ห้วงผล และคำที่ใช้ ไม่ค่อย

เป็นภาษากฎหมายเท่าใด เพราะตอนที่เ้รียนเนติอยู่นั้น พี่ชายของผู้เขียนก็โลภโดยการเรียน
อยู่ต่างประเทศไปพร้อมกันด้วย เพราะอยากสำเร็จเสียเร็วๆ ภาษากฎหมายและประมวลมิได้

ท่อง ก็มิต่างอะไรกับชาวบ้านเขียน ในเทอมถัดมา ผู้เขียนได้เข้าศึกษาในระดับชั้นเนติบัณฑิต
เช่นกัน หลังจากที่ผู้เขียนสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศแล้ว หลังจากผู้เขียนศึกษาข้อบก

พร่องของพี่ชายผู้เขียน จึงเรียนไปพร้อมๆกันแทน โดยผู้เขียนเข้าใจดีว่ามีความรู้ดีแต่มิ

สามารถที่จะถ่ายทอดมาเป็นถ้อยคำที่สละสลวยได้ จึงควรฝึกเขียนอย่างมาก สำคัญคือการทำ

ข้อสอบเก่าเสียมาก เพราะความรู้นั้นดีแล้ว สำคัญที่การทบทวน และการฝึกเขียนเสียมากกว่า

โดยผู้เขียนจะเป็นผู้ตรวจทาน สลับกับมารดา เป็นคนให้คะแนน ผู้เขียนรู้สึกว่า พี่ชายของผู้

ผู้เขียนลำดับเหตุการ์ณได้ฉงนใจยิ่งนัก ถ้าอ่านดูโดยปราศจากโจทก์ ย่อมทำให้ลำดับเนื้อ

ความได้อย่างไม่มีความหมาย ผู้เขียนจึงวางหลักในการเขียนตอบข้อสอบให้ และให้นำไปฝึก

เขียน ซึ่งหลักดังกล่าวของผู้เขียนก็มีดังนี้

 1.เรื่องของภาษาที่ใช้

1.1.เรื่องของภาษาต้องกระชับ รัดกุม 

ข้อนี้ เมื่อพิจารณา คำว่า กระชับ คือ ปราศจากคำฟุ่มเฟือย ไม่มีความหมาย การถอดความ

ประโยคในภาษากฎหมายควรจะเขียนให้ไ้ด้ใจความ ไม่ใช่ฟุ่มเฟือยดั่งแต่งนิยาย อ่านดูแล้ว

ความหมายไม่ขาด ไม่เกิน ได้ใจความ ส่วนรัดกุม คือ ความหมายในแง่นั้นตีความได้ในทาง

เดียว มิใช่ถอดความแล้วตีความออกไปได้หลายใน

1.2.ต้องใช้คำในตัวบทกฏหมาย หรือ หลักกฎหมาย 

คำในกฎหมายย่อมเป็นศัพท์เฉพาะที่มิใช้นามทั่วไป ย่อมจะมิสามารถใช้คำอื่นแทนได้ เช่น 

คำว่า มูลคดี ก็ต้องใช้คำว่า มูลคดี เป็นต้น ถ้าเรียบเรียงออกมาเป็นภาษาธรรมดาเสียแล้ว ย่อม

เป็นการยากที่จะได้คะแนนมาเชยชม 

  สองข้อนี้ ปราศจากข้อใดข้อหนึ่งเสียมิได้ จะทำให้มิได้คะแนน 

2.การลำดับเหตุการ์ณ ในเวลาศาลท่านร้อยเรียงคำพิพากษา ย่อมต้องลำดับเหตุการ์ณให้คู่

ความเข้าใจ ในกรณีทนาย หรือ พนักงานอัยการก็เช่นกัน ย่อมต้องไล่เรียงเหตุการ์ณให้เป็น

ลำดับ ไม่ใช่หัวท้าย ท้ายไปหัวเสีย จนอ่านแล้วเสียความไม่รู้เรื่อง ย่อมแน่นอนเป็นการยากที่

จะได้คะแนน เช่น การตอบข้อสอบกฎหมายอาญา มิควรวินิจฉัยผู้ใช้ขึ้นก่อน ควรจะไล่เรียงจาก

ผู้กระทำความผิดเสียก่อน มิฉะนั้นแล้วเวลาวินิจฉัยความผิดของผู้ใช้ซึ่งอิงความผิดตัวการอยู่

จะทำให้ต้องวินิจฉัยผู้ลงมือไปถึงสองรอบ ย่อมเสียเวลา และอ่านเข้าใจกว่าปรกติอยู่เป็นแน่

3.การตอบข้อสอบย่อมจะต้องมีหลักกฏหมายในข้อเท็จจริงอันเป็นส่วนประกอบของเหตุ 

(Tatbestand) เช่น ผู้ใด ฆ่า ผู้อื่น ตรงนี้ เรียกว่าองค์ประกอบของมาตรา และในสุดที่เป็นผล 

(Rechtsfolge) ต้องระวางโทษประหารชีวิต นี่คือ ผล เมื่อข้อเท็จจริงใดที่ปรับเข้ากับหลักกฎ

หมายข้อใด การเขียนต้องร้อยเรียงให้เข้าองค์กรอบของมาตรานั้นๆ ถ้าจะวางอยู่งสั้นๆ

Ex นายแดงอายุสิบเก้าปี ทำการสมรสกับนางสาวเขียวอายุียี่สิบสองปี 

เวลาร้อยเรียงประโยคสั้นๆออกมาเวลาสอบ ก็จะเขียนได้ว่า....

นายแดงอายุสิบเก้าปี ยังมิครบยี่สิบปีบริบูรณ์ยังคงเป็นผู้เยาว์และยังคงมิบรรลุนิติภาวะ

ตามมาตรา 19 (วางหลักพร้อมวินิจฉัยองค์ประกอบ) แต่่การที่นายแดงทำการสมรสกับนางสาว

เขียวอายุยี่สิบสองปี (มิใช่ผู้เยาว์) ซึ่งทั้งบุคคลทั้งสองมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ 

การสมรสจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 (การตอบโดยวาง

หลักและเป็นการเขียนองค์ประกอบมาตรา 20 ไปพร้อมกันด้วย) นายแดงย่อมบรรลุนิติภาวะ

โดยการสมรส (ผลในมาตรา 20) 

4.ในกรณีกฎหมายมีคำที่เป็นศัพท์ เฉพาะ ควรจะต้องอธิบายคำนั้นลงในข้อสอบเสียด้วย พึงระ

ลึกไว้เสมอว่า ในการเรียนการสอน ผู้สอนย่อมต้องสอนแบบผู้เขียนไม่มีความเข้าใจในเรื่ิองนั้น

ฉันใดก็ฉันนั้น เวลาเขียนข้อสอบผู้ตอบก็ต้องนึกเสียว่าผู้สอนมิได้มีความรู้เสียเลย (แต่เฉพาะ

ศัพท์ที่คนทั่วไปเท่านั้นมิเข้าใจ แต่มิใช่ต้องอรรถาธิบายไปเสียทุกคำ) ในเืบื้องต้นนี้ก็เช่น 

คำว่าประมาท (ในประมวลกฎหมายอาญา) เป็นต้น 

รูปแบบของการตอบข้อสอบ

โดยปกติแล้ว การตอบข้อสอบย่อมมีสองแบบ 

1.การตอบข้อสอบแบบวางหลักกฎหมาย 
การตอบเช่นนี้ นิยมกันในระดับปริญญาตรีเสียมากกว่าเนติบัณฑิต (แต่มิได้หมายความว่าระดับ

เนติบัณฑิตจะใช้มิได้) เป็นการตอบข้อสอบโดยยกหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงวินิจฉัยใน

ย่อหน้าถัดไป การตอบเช่นนี้ จะมีคะแนนเสียมาก เพราะเนื่องจากการท่องประมวลได้แล้ว 

ทุกถ้อยคำมิได้มีตกหล่น โดยต้องใส่เลขมาตราคล้ายกับล้อตัวบทมาทั้งมาตรา เช่น

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 19 วางหลักกฎหมายไว้ว่า .....................

มาตรา 20 วางหลักกฎหมายไว้ว่า .......................

มาตรา 1448 วางหลักกฎหมายไว้ว่า .......................

ประเด็น ....................

ดังนี้ ..................... (สรุป) 


มีข้อเตือนใจเล็กน้อยว่า ถ้าคิดเสียว่าจำมาตราไม่ได้ทั้งหมด จำได้แต่ Keyword มิควรใช้วิธี

การนี้อย่างเด็ดขาด ควรใช้วิธีที่สอง


2.การวินิจฉัยข้อเท็จจริง คละเคล้ากับวางหลักกฎหมาย

วิธีนี้ ผู้เขียนใช้บ่อยมากหลักจากจบมาจากปริญญาตรี โดยการตอบนั้นจะวางหลักกฎหมาย

สลับกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง โดยเหมาะสำหรับการสอบที่มีเวลาจำกัด และเป็นการสอบซึ่งสูง

กว่าระดับเนติบัณฑิตด้วย (เช่น สนามผู้ช่วย) โดยมีตัวอย่างดังนี้ 

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว วินิจฉัยได้ดังนี้

   นายแดงอายุสิบเก้าปี เมื่ออายุยังมิครบ 20 ปี ย่อมมีสถานะเป็นผู้เยาว์ และยังไม่บรรลุ

นิติภาวะ เมื่อบุคคลนั้นย่อมพ้นจากผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ หรือ 

ทำการสมรสหากการสมรสนั้น ได้ทำตามบทบัญญัติ มาตรา 1448 ซึ่งเมื่อนายแดงมีอายุสิบเก้า

ปี สมรสกับนางสาวเขียวอายุยี่สิบสองปี เมื่อบุคคลทั้งอายุมิต่ำกว่าสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ การสมรส

จึงทำถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1448 นายแดงย่อมบรรลุนิติภาวะ
  เท่าที่เห็นจะไม่มีการวางหลักกฎหมายไว้ข้างต้น และ กรณีนี้ปราศจากคำเฉพาะ จึงต้องใช้

คำในตัวบท สลับกับวางหลักโดยไม่ต้องอธิบายศัพท์เฉพาะ (เพราะมันไม่มี)

ดังนี้จะเป็นภาพรวม จงจำไว้เสมอว่าธงข้อสอบเนติบัณฑิตเป็นเพียงแนวทางในการใช้ตรวจข้อ
สอบ มิใช่เป็นธงที่ควรจะตอบให้เหมือนเสียทีเดียว ต้องการมีการอธิบายคำอื่นเสียบ้าง

หวังว่าที่ผู้เขียน เขียนชี้แนะไว้เป็นแนวทาง จะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้บ้างเป็นลำดับไป หวัง

ว่าผู้ที่อ่านบทความนี้แล้ว จะเขียนได้ดียิ่งๆขึ้นไป และ ต้องมีวินิจขยันทำข้อสอบเก่าเสียด้วย