วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Review-ตำรากฎหมายพยานหลักฐาน

                 ตำรากฎหมายพยานหลักฐาน

             ในการเลือกเฟ้นตำรากฎหมายอ่านนักหายากยิ่งหนัก ยิ่งอ่านแล้ว ถูกจริตกับตัวเสีย

ด้วยนั้นยิ่งยากใหญ่ ปัญหาส่วนใหญ่ของนักศึกษา ที่ไม่อยากซื้อตำราหลายๆเล่มมาลองผิด 

ลองถูกมีข้อแนะนำซักเล็กน้อยจากผู้เขียน คือ ให้ท่านลองเปิดอ่านบทแรกๆ แล้วอย่างน้อยๆ 

ซัก 10 หน้า ถ้าท่านอ่านแล้ว ชอบการเรียบเรียงถ้อยคำในรูปแบบนี้ ท่านก็ควรจะซื้อเล่มนั้้้้น

เสีย แต่ถ้ากลับกันท่านก็ควรวางเสีย เพราะถึงท่านทนอ่านต่อไป ย่อมลำบากในการทำความ

เข้าใจในภายหลังด้วย

             ในชั้นนี้จะกล่าวถึงตำรากฎหมายพยานหลักฐานที่ผู้เขียนเคยอ่านมาตั้งแต่สมัยชั้นปริญญาตรี

จนปัจจุบัน ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนโดยแท้ 

1.กฎหมายพยานหลักฐานของอาจารย์จรัญ 

เล่มนี้ เหมาะทั้งสำหรับปริญญาตรี ปริญญาโท และ เนติบัณฑิต ถ้อยคำอ่านเข้าใจง่าย เน้นทฤษฏีแฝง

ด้วยหลักกฎหมายพร้อมข้อคิดสอดแทรงให้เห็นถึงเจตนารมณ์กฎหมายอย่างเด่นชัด ไม่จะใคร่เน้นคำ

พิพากษามากนัก ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบอ่านคำพิพากษาฏีกา สำหรับคนที่ยังไม่มีพื้นและกำลังจะวาง

พื้นที่มั่นคง ก็ต้องเล่มนี้ อาจารย์ท่านเรียบเรียงเนื้อหาได้แบบเป็นขั้นเป็นตอนสอนวิธีคิดอยากเป็นขั้น

เข้าใจอย่างง่ายดาย พร้อม Mind-Map อธิบายให้ง่ายต่อการจดจำ

2.คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลัก โดย อาจารย์อุดม รัฐอมฤต

เล่มนี้ เหมาะสำหรับทบทวนเป็นอย่างยิ่ง อธิบายคล้ายคลึงกับตำราของท่านอาจารย์เข็มชัย ชุติวงศ์

อ่านเข้าใจยากเล็กน้อย เหมาะสำหรับคนมีพื้นมาแล้ว เนื้อหาสั้นกระชับ เหมาะสำหรับเรียนปริญญาตรี

มากที่สุด ไม่เน้นคำพิพากษาฏีกา โดยจะมีฏีกาประกอบเพียงสองถึงสามฏีกาต่อเรื่องเท่านั้น

3.คำอธิบายกฎหมายกฎหมายลักษณะพยาน โดย อาจารย์ เข็มชัย ชุติวงศ์

ส่วนตัวคิดว่าเล่มนี้ อ่านยาก เข้าใจยากที่สุด (แต่ไม่ใช่เป็นการพ้นวิสัยในการทำความเข้าใจได้) แต่ค่อน

ข้างละเอียดและพิสดารอยู่พอควร เล่มนี้ เหมาะสำหรับคนอ่านเล่มอื่นๆมาแล้ว มาต่อยอดในเล่มนี้ ซึ่งถ้า

จะเป็นไปได้ควรอ่านคู่กับอาจารย์ จรัญ จะดีมาก

4.คำอธิบายพยานหลักฐาน คดีแพ่งและคดีอาญา โดย อาจารย์ ธานี สิงหนาท

เล่มนี้ เป็นแนวการเขียนเน้นฏีกา + ทฤษฏีเล็กน้อย เหมาะมากสำหรับอ่านต่อจากเล่มอื่นๆ ได้ทั้งทบทวน

และต่อยอดจากเล่มอื่นๆ ผู้เขียนใช้เล่มนี้อ่านทบทวนเสียบ่อยครั้ง เพราะอ่านเข้าใจง่าย โดยคิดว่า เหมาะ


ทั้งในชั้นปริญญาตรี และ เนติบัณฑิต สมควรที่จะนำมาเก็บไว้ซักเล่ม เพื่ออ่านดูเสียซักครั้ง


5.พยานหลักฐาน โดย อาจารย์ สมชัย ฑีฆาอุตมากร


เล่มนี้ เป็นเหมือนประมวลที่รวบรวมเรื่องที่เกี่ยวข้องเข้ามาไว้ด้วยกัน พร้อมหลักโดยย่อ และมีข้อสังเกต


และ หมายเหตุที่น่าสนใจไว้มากมาย น่าจะเทียบได้กับเล่มของท่านอาจารย์ธานี แต่แนวการเขียนไม่ใช่


คล้ายกัน แตกต่างกันอยู่มาก แต่ก็เป็นหนังสือที่เหมาะนำไว้ทบทวนอย่างแท้จริง เพราะคนที่อ่านต้องมี


พื้นฐานมาดีอยู่พอสมควร เหมาะกับเนติบัณฑิต เป็นที่สุด เพราะวิเคราะห์การปรับใช้กฎหมายของศาล


และอธิบายในหมายเหตุได้ดีมาก


6.คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน

เล่มนี้ เหมือนเป็นจุดบรรจบกึ่งกลางระหว่างเน้นคำพิพากษาและฏีกา กับ เน้นหลักทฤษฏี โดยตำราเล่มนี้ 

ผู้เขียนอ่านสามรอบด้วยกัน เพราะชอบมากที่สุด แนนคำพิพากษาฏีกาจะอ่านง่าย แต่ซ้ำกันบ่อยเสียบ้าง


โดยอธิบายหลักผสมผสานไปกับคำพิพากษา แต่จะเน้นคำพิพากษามากกว่าอยู่เล็กน้อย เหมาะกับชั้น


เนติบัณฑิต และปริญญาตรี 


7.คำอธิบายพยาน

เล่มนี้ เหมาะทั้งเรียนปริญยาตรี และ ปริญญาโท แต่กลับมีความรู้สึกมิค่อยเหมาะกับเนติบัณฑิตมากนัก

เพราะจะเน้นปูทฤษฏี และ การเรียนเพื่อพัฒนากฎหมาย เสียมากกว่า (เหมือนเรียนเจตนารมณ์ของบท

บัญญัติมาตรานั้นๆซะมากกว่า) โดยส่วนตัว คิดว่าเล่มนี้ ถ้าอยากได้ทฤษฏีแน่น นอกจากทางเลือกคือ

อาจารย์จรัญ เล่มนี้ก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุดอีกเล่มหนึ่งเช่นกัน 




       สุดท้ายนี้ หวังว่าท่านจะได้ตำราที่อ่านแล้ว ถูกจริตท่านมากที่สุด และแนะนำว่า ต้องอ่านตำราที่


มีคำพิพากษาและอธิบายข้อกฎหมายเป็นปัจจุบัน เพราะมีการแก้ไขมากในปี 2550 - 2551 นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น